
5 สิทธิทางการเงินของพนักงาน ที่อาจหายไป หากไม่แจ้งฝ่ายบุคคล
27/03/2025
เผยแพร่เมื่อ : 28 มีนาคม 2568
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงอยากได้สิ่งของที่ไม่จำเป็น ? หรือทำไมเราถึงใช้เงินเกินตัวอยู่เสมอ ? คำตอบอาจอยู่ที่การเข้าใจธรรมชาติของจิตใจและการจัดการปัจจัยภายนอกรอบตัวเรา
เริ่มจากเข้าใจตัวเราก่อน
ชีวิตของเราเปรียบเสมือนละครเวทีที่มีทั้งตัวละครหลักอย่าง ตัวเรา และฉากหลังที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่าง สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดและการกระทำของเรา
ตัวเรา นั้นประกอบไปด้วยสองส่วนสำคัญคือ ร่างกาย และ จิตใจ
ซึ่งจิตใจนั้นซับซ้อนและละเอียดอ่อน ประกอบไปด้วย
- ความทรงจำ ที่เก็บเรื่องราวต่างๆ
- ความคิด ที่สร้างสรรค์และวิเคราะห์
- ความรู้สึก ที่หลากหลาย และ
- การรับรู้ ที่เชื่อมโยงเรากับโลกภายนอก
ความอยากได้อยากมี… เกิดขึ้นอย่างไร ?
เมื่อ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือสิ่งเร้าภายนอกต่างๆ มากระทบกับ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) สิ่งเร้าเหล่านี้จะเดินทางผ่าน 3 ด่าน คือ
- การรับรู้ทางกาย ซึ่งทำหน้าที่รับรู้เพียงลักษณะพื้นฐานของสิ่งเร้า เช่น ตาเห็นเพียงรูปร่างและสีสัน หูได้ยินเพียงเสียง ส่งต่อไปสู่
- การรับรู้ทางใจ จะเข้ามาประมวลผล แปลความหมาย และตีความสิ่งเร้าเหล่านั้น โดยอาศัยข้อมูลจากความทรงจำและประสบการณ์เดิมที่เก็บไว้ ในขั้นตอนนี้เองที่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ จะเกิดขึ้น นำไปสู่
- ตัณหา หรือ ความอยากได้อยากมี อยากเป็นเจ้าของ จนลงมือกระทำในที่สุด
ตัวอย่าง การเกิดขึ้นของความอยาก
ลองนึกภาพโฆษณามือถือรุ่นใหม่ที่ปรากฏบนหน้าจอ เมื่อเราเห็นโฆษณานั้น การรับรู้ทางกาย จะทำหน้าที่รับรู้เพียงรูปร่างและสีสันของมือถือ แต่ การรับรู้ทางใจ จะเข้ามาประมวลผลและแปลความหมายว่านี่คือมือถือรุ่นใหม่ ทันสมัย น่าใช้ โดยอาศัยข้อมูลจากความจำที่เราเคยเห็นรีวิวหรือเคยใช้มือถือรุ่นก่อนหน้า
จากนั้นความรู้สึกสุขและชอบจะเกิดขึ้น จนนำไปสู่ ตัณหา ที่อยากได้มือถือรุ่นนี้ จนกระทั่งตัดสินใจซื้อ
นี่คือกระบวนการที่เชื่อมโยงกับเรื่องของการจัดการการเงินของเรา และเกิดขึ้นกับทุกๆ อย่างไม่ใช่แค่มือถือรุ่นใหม่
จัดการและควบคุมความอยากได้อย่างไร ?
การควบคุมจิตใจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็น “กุญแจสำคัญสู่การมีชีวิตที่อิสระจากความอยาก”
ผู้เขียนจึงขอเสนอ หลักธรรมในพุทธศาสนา 3 ข้อ ที่ช่วยควบคุมปัจจัยภายนอก ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น ประกอบด้วย
1) อินทรียสังวรศีล (การสำรวมอินทรีย์) : ปิดประตูสู่สิ่งเร้าที่กระตุ้นความอยาก
-
- ควบคุมตา : หลีกเลี่ยงการมองสิ่งของฟุ่มเฟือยที่ทำให้เกิดความอยากได้
- ควบคุมหู : ไม่ฟังโฆษณาชวนเชื่อที่กระตุ้นให้เกิดการซื้อ
- ควบคุมใจ : คิดให้รอบคอบก่อนซื้อทุกครั้ง อย่าปล่อยให้ความอยากครอบงำ
2) อาชีวปาริสุทธิศีล (การเลี้ยงชีพชอบ) : หาเงินด้วยความสุจริต ใช้จ่ายอย่างมีสติ
-
- หาเงินด้วยความสุจริต : ทำงานหนักด้วยความซื่อสัตย์ ไม่โกงหรือเอาเปรียบใคร
- ใช้จ่ายอย่างมีสติ : เมื่อรู้ว่าเงินหามาด้วยความยากลำบาก เราจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการพนัน : การพนันคือหลุมดำทางการเงินที่ทำให้เราสูญเสียทุกอย่าง
3) ปัจจัยสันนิสสิตศีล (การพิจารณาปัจจัยสี่) : ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักพอประมาณ
-
- ใช้จ่ายตามความจำเป็น : ถามตัวเองว่าสิ่งนี้จำเป็นต่อชีวิตหรือไม่
- ไม่ฟุ่มเฟือย : เลือกสินค้าคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม
- รู้จักพอประมาณ : ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว
ชวนนำหลักธรรมมาลงมือปฏิบัติ
จากหลักธรรมข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนวทางปฏิบัติจริง ที่จะช่วยให้ควบคุมการเงินได้อยู่หมัด โดยสามารถเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ แต่ทรงพลัง ดังนี้
1) จัดระเบียบโลกภายนอก ควบคุมโลกภายใน
-
- บ้าน/ที่ทำงาน
- เคลียร์พื้นที่รก : กำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็น เพื่อลดสิ่งกระตุ้นความอยาก
- จัดระเบียบให้เข้าที่ : สร้างความรู้สึก "พอ" โดยไม่ต้องหาอะไรมาเติมเต็มอีก
- สื่อที่รับ
- ปิดกั้นโฆษณา : เพื่อลดการกระตุ้นให้บริโภค
- เสพสื่อดีๆ : เลือกรับสื่อที่ส่งเสริมชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่สุขได้จากเรื่องอื่นนอกจากการซื้อ
- พักจากโซเชียล : หยุดเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่นอย่างไม่หยุดสิ้น
- สถานที่
- เลี่ยงห้าง : เพื่อลดโอกาสการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- เข้าหาสิ่งดีๆ : ไปสวนสาธารณะ วัด หรือสถานที่ที่ส่งเสริมกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เงิน
- บ้าน/ที่ทำงาน
2) สร้างสังคมแห่งการสนับสนุน
-
- เลือกเพื่อน
- คบเพื่อนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย : เพื่อนที่มีค่านิยมเดียวกัน
- เลี่ยงนักกระตุ้น : หลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชวนใช้จ่ายมากเกินไป
- สื่อสาร
- บอกความตั้งใจ : แจ้งคนรอบข้างถึงเป้าหมายการลดใช้จ่าย
- ขอความร่วมมือ : ให้คนรอบข้างช่วยกันไม่กระตุ้นการซื้อ
- เลือกเพื่อน
3) รับมือกับสิ่งเร้าเฉพาะหน้า
-
- เมื่อเห็นของที่อยากได้
- ถามตัวเอง : จำเป็นจริงไหม ?
- รอสักนิด : รอ 24 ชั่วโมงก่อนตัดสินใจซื้อ หรือถ้าของใหญ่อาจรอนานกว่านั้น
- มองหาของที่มี : พิจารณาว่ามีของคล้ายกันอยู่แล้วหรือไม่
- เมื่อรู้สึกอยากซื้อ
- หากิจกรรมอื่น : อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือทำสิ่งที่ชอบแทน
- เตือนตัวเอง : นึกถึงเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจให้ความสุขอื่นที่ดีไม่แพ้กัน
- เมื่อเห็นของที่อยากได้
5) สร้างนิสัยใหม่เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน
-
- ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
- เพื่อเห็นภาพรวม : รู้ว่าเงินไหลไปไหนบ้าง มีมากพอให้ใช้จ่ายจริงหรือไม่
- อุดรูรั่ว : ปิดช่องทางการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- ตั้งเป้าหมาย
- กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน : ตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้ ว่าอะไรกันแน่ที่สำคัญ
- สร้างแรงจูงใจ : หาสิ่งกระตุ้นให้อยากทำตามเป้า แทนที่จะเป็นการจ่ายเพื่อบริโภคในวันนี้ อาจเป็นความความมั่นคง ภาพความสบายใจของคนรอบข้างเมื่อเรามีการเงินที่เข้มแข็ง
- ฝึกความพอใจ
- ขอบคุณสิ่งที่มี : มองเห็นคุณค่าของสิ่งของที่มีอยู่
- ชื่นชมความเรียบง่าย : มีความสุขกับชีวิตที่อาจไม่ต้องมีอะไรมากมาย โดยเลือกจะมีเฉพาะสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ไม่เป็นภาระมากเกินไปเท่านั้น
- ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
บทสรุป
"การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาและความอดทน"
ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ลองเลือกและเริ่มต้นทำในสิ่งเล็กๆ สร้างวินัยทางการเงินได้สำเร็จนะคะ
การจัดการปัจจัยภายนอก แม้จะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ก็ช่วยลดโอกาสเกิดความอยากได้อยากมี ได้พอสมควร เมื่อฝึกต่อเนื่องแล้ว ก็จะช่วยให้เรามีสติกับเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น ตัดสินใจอะไรผิดพลาดน้อยลง ซึ่งนำมาสู่สถานะการเงินที่ดีขึ้นด้วย
ตัวผู้เขียนและเพื่อนๆ นักวางแผนการเงิน ของ บลป. Avenger Planner พวกเราก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทุกท่านที่ต้องการจัดการเงินให้ดี
ทั้งในบทบาทของผู้ช่วยวางแผนในเรื่องการเงินยากๆ เพื่อนคู่คิดคอยช่วยกลั่นกรองตัวเลือกต่างๆ และในฐานะเพื่อนร่วมทางไปสู่อนาคตการเงินที่ดีร่วมกัน หากสนใจบริการสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก Link นี้ เผื่อว่าพวกเราจะได้มีโอกาสเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้แก่กันและกันค่ะ