5 สิทธิรักษาพยาบาลพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้
20/09/2023เลือกใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ Retirement Home ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ?
13/10/2023วิธีการประเมินทุนเกษียณนั้น ความจริงแล้วมีหลายวิธี เช่น ประเมินจากค่าใช้จ่าย หรือประเมินจากรายได้ที่จะได้รับในช่วงก่อนจะเกษียณ เป็นต้น แต่ในบทความนี้ จะขอแนะนำวิธีประเมินทุนเกษียณอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำกันเองได้นะคะ
เริ่มประเมินจากค่าใช้จ่ายต่อเดือน
การประเมินทุนเกษียณอย่างง่ายที่ว่านั้น คือการประเมินจากค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยที่เราลองคิดถึงรายจ่ายต่อเดือน ที่เราจะใช้ในตอนเกษียณ ว่าตกประมาณเดือนละเท่าไร
ซึ่งรายจ่ายที่ว่านั้นก็ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าสันทนาการ ท่องเที่ยว รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพและความงามต่างๆ
สมมติว่ารายจ่ายต่อเดือนที่เราประมาณไว้ ตกประมาณ เดือนละ 35,000 บาท ถ้าปัจจุบันเราอายุ 35 ปี ต้องการเกษียณอายุ ตอนอายุ 60 ปี (อีก 25 ปีข้างหน้า) และคาดว่าจะมีชีวิตต่อไปอีก 30 ปี (จนถึงอายุ 90 ปี) เราจะสามารถประเมินทุนเกษียณจากรายจ่ายต่อเดือนได้ ดังนี้
- รายจ่ายต่อเดือน 35,000 บาท
- คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี 35,000 x 12 = 420,000 บาท
- คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี
- ดังนั้น ทุนเกษียณอย่างง่ายที่ต้องเตรียม จะเท่ากับ 420,000 x 30 = 12,600,000 บาท นั่นเอง
จากนั้นปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ
แต่การประเมินทุนเกษียณวิธีด้านบนนั้น ต้องบอกว่าเป็นวิธีการอย่างง่ายเท่านั้น โดยที่ยังไม่ได้คำนึงถึงเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายต่อเดือนจากปัจจุบันไปจนถึงวันเกษียณ และยังเฟ้อต่อไปจนถึงวันสิ้นอายุขัยด้วย
ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายทั่วไปจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี ซึ่งด้วยอัตราดังกล่าว ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2 เท่า ในทุกๆ 23 ปี ซึ่งถ้าใครที่ยังอายุไม่เยอะมาก ด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3% นี้ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัวเลยทีเดียวก่อนที่จะสิ้นอายุขัย
ในที่นี้ หากประเมินว่าค่าใช้จ่ายเดือนละ 35,000 บาท ซึ่งเป็นตัวเงิน ณ ปัจจุบัน กว่าจะถึงวันที่เราเกษียณอายุเฟ้อขึ้นไปเป็น 70,000 บาท ทุนเกษียณที่ปรับด้วยเงินเฟ้อก็จะเป็น
- รายจ่ายต่อเดือน 70,000 บาท
- คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี 70,000 x 12 = 840,000 บาท
- คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี
- ดังนั้น ทุนเกษียณหลังปรับด้วยเงินเฟ้อที่ต้องเตรียม จะเท่ากับ 840,000 x 30 = 25,200,000 บาท เลยทีเดียว
ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก
นอกจากตัวเลขข้างต้นแล้ว ชีวิตของคนเรายังไม่ได้มีแค่เพียงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้พิเศษอื่นๆ อีก เช่น
- ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่อยู่อาศัย
- ค่าใช้จ่ายหากต้องการเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยหลังเกษียณ
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานั้น ในระยะเวลาอีกหลายๆ ปีข้างหน้า ก็ย่อมมากกว่ามูลค่า ณ ปัจจุบัน อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การวางแผนเกษียณอย่างละเอียดรอบคอบ จึงควรนำปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายพิเศษและอัตราเงินเฟ้อเข้ามาคำนวณด้วย เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุ ได้ตรงกับความต้องการและมีความสบายใจทางการเงินได้มากที่สุด
ซึ่งหากท่านใดสนใจวางแผนเกษียณอายุแบบละเอียด ก็สามารถปรึกษานักวางแผนการเงินจาก บลป. อเวนเจอร์ แพลนเนอร์ ได้นะคะ ศึกษารายละเอียดได้ที่ Link นี้เลยค่ะ